วันจันทร์ที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2551

รูปเล่มรายงาน ระบบปฏิบัติการเครือข่าย NOS

ระบบปฏิบัติการเครือข่าย
ระบบปฏิบัติการเครือข่าย (Network operating System หรือ NOS) จะเป็นระบบปฏิบัติการที่ถูกออกแบบมาสำหรับจัดการงานด้านการติดต่อสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ และช่วยให้คอมพิวเตอร์ที่ต่ออยู่กับเครือข่ายสามารถใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น ฮาร์ดดิสก์ หรือเครื่องพิมพ์ร่วมกันได้ ระบบปฏิบัติการเครือข่ายมีคุณสมบัติต่างๆ คล้ายระบบปฏิบัติการเอ็มเอสดอส แต่เพิ่มการจัดการเกี่ยวกับเครือข่ายและการใช้อุปกรณ์ร่วมกัน รวมทั้งมีระบบการป้องกันการสูญหายของข้อมูลด้วย
ระบบปฏิบัติการเครือข่ายที่นิยมใช้ปัจจุบัน จะใช้หลักการประมวลผลแบบไคลเอนต์เซิร์ฟเวอร์ (Client / Server) โดยส่วนประกอบสำหรับการเรียกใช้แฟ้มข้อมูลและการจัดการโปรแกรมจะทำงานอยู่บนเครื่องเซิร์ฟเวอร์ ในขณะที่ส่วนประกอบอื่น ๆ ของระบบปฏิบัติการเครือข่ายจะอยู่บนเครื่องไคลเอนต์ เช่น การติดต่อกับผู้ใช้ การประมวลผล เป็นต้น การจัดการให้ผู้ใช้เห็นว่างานและอุปกรณ์ทั้งหลายที่ใช้นั้นเสมือนอยู่บนเครื่องไคลเอนต์เอง ถือว่าเป็นหน้าที่หลักอันหนึ่งของระบบปฏิบัติการเครือข่าย
ระบบปฏิบัติการเครือข่าย (NOS) เป็นโปรแกรมที่ติดตั้งในเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย (Server) เพื่อควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ลูกข่าย โปรแกรมที่นิยมใช้ ได้แก่ 1. Netware เป็นระบบปฏิบัติการที่มีผู้นิยมใช้งานในระบบเครือข่ายมากสำหรับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ในยุคแรกๆ พัฒนาโดยบริษัท Novell จัดเป็นระบบปฏิบัติการเครือข่ายที่ทำงานภายใต้ MS-DOS 2. Window NT, Windows 2000,2003,2008 Server เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนาโดยบริษัท ไมโครซอฟต์ จำกัด สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้หลากหลายรูปแบบ เริ่มต้นไมโครซอฟต์ต้องการพัฒนาเป็นแอปปลิเคชั่น เซอร์ฟเวอร์ แต่ปัจจุบันสามารถประยุกต์ได้เป็นดาต้าเบส เซิร์ฟเวอร์ และอินเทอร์เน็ตเซอร์ฟเวอร์ 3. Unix เป็นระบบปฏิบัติการที่กำเนิดมาบนเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ (Mainframe) ที่รองรับผู้ใช้จำนวนมากสำหรับระบบเครือข่ายในหน่วยงานใหญ่ๆ เป็นโปรแกรมจัดการระบบงาน (Operating system) ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระบบหนึ่ง ได้รับการออกแบบโดยห้องปฏิบัติการเบลล์ของบริษัท AT&T ในปี ค.ศ. 1969 ถึงแม้ว่าระบบ Unix จะคิดค้นมานานแล้ว แต่ยังเป็นที่นิยมใช้กันมากมาจนถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะระบบ พื้นฐานของอินเตอร์เน็ต เนื่องจากมีความคล่องตัวสูง ตลอดจนสามารถใช้ได้กับเครื่องคอมพิวเตอร์หลายชนิด นอกจากนั้น Unix ยังเป็นระบบ ใช้ในลักษณะผู้ใช้ร่วมกันหลายคน (Mutiuser) และงานหลายงานในขณะเดียวกัน (Mutitasking) ผู้ใช้สามารถดัดแปลง หรือเพิ่มคำสั่งใน Unix ด้วยตนเองเพื่อความสะดวกได้ 4. Linux เป็นระบบปฏิบัติการสำหรับระบบเครือข่าย ที่อยู่ในกลุ่มของ FreeWare ที่มีคุณภาพ และประสิทธิภาพสูง Linux พัฒนาขึ้นโดยนายไลนัส ทอร์วัลด์ (Linus Torvalds) ขณะที่ยังเป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัยเฮซิงกิ ประเทศฟินแลนด์ เขาได้ส่งซอร์สโค้ด(Source Code) ให้นักพัฒนาทั่วโลกร่วมกันพัฒนา โดยข้อดีของ Linux สามารถทำงานได้พร้อมกัน (Multitasking) และใช้งานได้พร้อมกัน หลายคน(MultiUser) ทำให้เป็นที่นิยมแพร่หลาย บางคนกล่าวว่า "Linux ก็คือน้องของ Unix" แต่จริงๆ แล้วลีนุกซ์มีข้อดีกว่ายูนิกซ์(Unix) คือสามารถทำงาน ได้บนเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (PC) ที่ใช้งานอยู่ทั่วๆ ไป เพราะว่า Linux เป็นระบบปฏิบัติการที่ใช้ทรัพยากรน้อย และมีเสถียรภาพในการดูแลระบบได้ดี

การบริหารทรัพยากรของเครือข่าย ระบบปฏิบัติการเครือจะทำหน้าที่ในการบริการทรัพยากรของเครือข่ายทั้งหมด ไม่ว่า จะเป็นฯแฟกซ์โมเด็ม เครื่องพิมพ์ หรือแม้กระทั้งซอฟต์แวร์แอปพลิเคชั่น เพื่อให้ผู้ใช้ในเครือข่ายสามารถใช้ทรัพยากรเหล่านี้ได้อย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพสูงสุด
ระบบควบคุมการเข้าถึงข้อมูล ระบบปฏิบัติการเครือข่ายโดยส่วนใหญ่จะมีระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูลที่สลับซับซ้อนเพื่อใช้ในการควบคุมให้ผู้ใช้ที่มีสิทธิสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ เท่านั้น ตัวอย่าง เช่น ระบบปฏิบัติการเครือข่ายจะกำหนดสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลแตกต่างกันไป
ไดรฟเวอร์ของระบบปฏิบัติการ ไดรฟเวอร์ของระบบปฏิบัติการคือ ซอฟต์แวร์ที่ช่วยให้คอมพิวเตอร์ในเครือข่ายสามารถติดต่อสื่อสารกับระบบปฏิบัติการเครือข่ายได้ ดังนั้น ผู้ใช้จะต้องเลือกใช้ไดรฟเวอร์ให้เหมาะสมกับระบบปฏิบัติการเครือข่าย เมื่อมีผู้ใช้งานไดรฟเวอร์จะดูคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ ต้องการเข้าถึงข้อมูลส่วนไหนของเครือข่ายเพื่อทำงานให้เสร็จสมบูรณ์


ประเภทของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
1. เครือข่ายท้องถิ่น (Local Area Network หรือ LAN) เป็นเครือข่ายระยะใกล้ ใช้กันอยู่ในบริเวณไม่กว้างนัก อาจอยู่ในองค์กรเดียวกัน หรืออาคารที่ใกล้กัน เช่น ภาพในสำนักงาน ภายในโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย ระบบเครือข่ายท้องถิ่นจะช่วยให้ติดต่อกันได้สะดวก ช่วยลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานอุปกรณ์ต่างๆ
เครือข่ายระบบ LAN
2. เครือข่ายระดับเมื่อง (Metropolitan Area Network หรือ MAN) เป็นเครือข่ายขนาดกลาง ใช้ภายในเมือง หรือจังหวัดที่ใกล้เคียงกัน เช่น ระบบเคเบิลทีวีที่มีสมาชิกตามบ้านทั่วไปที่เราดูกันอยู่ทุกวันก็จัดเป็นระบบเครือข่ายแบบ MAN
เครือข่ายระบบ MAN
3. เครือข่ายระดับประเทศ (Wide Area Network หรือ WAN) เป็นระบบเครือข่ายขนาดใหญ่ ใช้ติดตั้งบริเวณกว้าง มีสถานีหรือจุดเชื่อมต่อมากมาย มากกว่า 1 แสนจุด ใช้สื่อกลางหลายชนิด เช่น ระบบคลื่นวิทยุ ไมโครเวฟ หรือดาวเทียม
เครือข่ายระบบWAN

องค์ประกอบระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ประกอบไปด้วย

1. เครื่องคอมพิวเตอร์อย่างน้อย 2 เครื่องขึ้นไป
2. การ์ดแลน (Network Interface Card : NIC) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณและควบคุมการรับส่ง ข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องที่เชื่อมต่อกับระบบเครือข่าย
3. สื่อกลางในการส่งข้อมูล (Media) ได้แก่ สายเคเบิล คลื่นวิทยุ คลื่นอินฟราเรด เป็นต้น ซึ่งรายละเอียดเกี่ยวกับ สื่อกลางในการส่งข้อมูล จะอธิบายอย่างละเอียดในหน่วยที่ 2 เรื่องการสื่อสารข้อมูลระบบเครือข่าย สาย UTP Cat 5

บริการของ NOS

การเลือกใช้ NOS มีผลต่อการใช้งานเครือข่ายของบุคลากรในองค์กร เช่น ความยากง่ายในการใช้งาน ความยากง่ายในการดูแล และจัดการโปรแกรมต่างๆ รวมถึงระบบการรักษาความปลอดภัย เป็นต้น สิ่งที่ควรพิจารณาเปรียบเทียบก่อนการตัดสินใจคือ บริการต่างๆ ของระบบ NOS ที่มีในแต่ละระบบปฏิบัติการ
1. บริการจัดเก็บไฟล์ และการพิมพ์ (File and Print Services)
2. บริการดูแลและจัดการระบบ (Management Services)
3. บริการรักษาความปลอดภัย (Security Services)
4. บริการอินเทอร์เน็ตและอินทราเน็ต (Internet/Intranet Services)
5. บริการมัลติโพรเซสซิ่ง และคลัสเตอร์ริ่ง (Multiprocessing and Clustering Services)
1. บริการจัดเก็บไฟล์ และการพิมพ์ (File and Print Services)
จัดเป็นฟังก์ชันที่สำคัญของ NOS จะต้องสามารถในด้าน
8 การจัดการเครื่องพิมพ์
8 การจัดการเกี่ยวกับพื้นที่เก็บไฟล์ที่แบ่งปันระหว่างผู้ใช้
8 ระบบควบคุมการเข้าใช้ทรัพยากร

2. บริการดูแลและจัดการระบบ (Management Services)
การดูแล และจัดการเครือข่าย
8 การจัดการเกี่ยวกับผู้ใช้ (User Accounts)
8 ควบคุมคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเข้ากับเครือข่าย
8 ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์เครือข่าย
8 การรายงานเกี่ยวกับข้อผิดพลาดต่างๆ ที่เกิดขึ้นในเครือข่าย
8 การเฝ้าดูระบบเครือข่ายเพื่อทราบถึงปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นและสามารถแก้ไขได้ทันเวลาหรือก่อนที่จะกลายเป็นปัญหาใหญ่
เครื่องมือนี้จะช่วยให้การจัดการเครือข่ายง่ายขึ้น
8 Netware จะใช้ ระบบไดเร็คทอรี่ที่เรียกว่า NDS eDirectory (Novell Directory Services eDirectory)
8 Windows2003 จะใช้ระบบไดเร็คทอรี่ที่เรียกว่า ADS (Active Directory Services)
3. บริการรักษาความปลอดภัย (Security Services)
การรักษาความปลอดภัยข้อมูลในเครือข่ายเป็นเรื่องสำคัญ NOS ควรมีฟังก์ชันที่สามารถกำหนดระดับผู้ใช้ โดยสามารถกำหนดสิทธิ์ให้กับผู้ใช้หรือกลุ่มของผู้ใช้ได้
8 ความสามารถเข้าถึงข้อมูลในทุกระดับชั้น
8 สามารถอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ใครเข้าใช้ระบบได้
8 สามารถเขียนหรือลบข้อมูลระบบ ฐานข้อมูลของระบบ


3. บริการอินเทอร์เน็ตและอินทราเน็ต (Internet/Intranet Services)
ปัจจุบันองค์กรต่างๆ มักจะให้บริการอินเทอร์เน็ต โดยกำหนดเครือข่ายภายใน ให้เป็นอินทราเน็ต เพื่อความปลอดภัยของเครือข่าย จึงต้องติดตั้งบริการต่างๆ ขึ้น เช่น
8 เว็บเซิร์ฟเวอร์ (Web Server) : ให้บริการสืบค้นข้อมูลผ่าน Web
8 เมล์เซิร์ฟเวอร์ (Mail Server) : สถานีบริการ e-mail รับ-ส่ง e-mail กับสถานีอื่นๆ
8 เอฟทีพีเซิร์ฟเวอร์ (FTP Server) : บริการถ่ายโอนแฟ้มข้อมูล เพื่อลด Traffic ใน Intranet
ดีเอ็นเอสเซิร์ฟเวอร์ (DNS Server) : บริการเปลี่ยนหมายเลข IP เป็น URL
พร็อกซี่ เซิร์ฟเวอร์ (Proxy server) เครื่องที่บริการเก็บข้อมูล เพื่อให้บริการสำหรับผู้อื่นที่ข้อมูลนั้นๆ อีก (เพื่อลดปริมาณ Bandwidth)
เน็ต NAT (Network Address Translation) เครื่องที่บริการแจก Real IP สำหรับเครื่อง Local ที่ร้องขอข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต เมื่อข้อมูลกลับมา NAT จะนำข้อมูลส่งกลับให้เครื่อง Local

4. บริการมัลติโพรเซสซิ่ง และคลัสเตอร์ริ่ง (Multiprocessing and Clustering Services)
8 Multiprocessing : NOS ที่ดีต้องรองรับการทำงานของเครื่อง ที่มี CPU มากกว่า 1
8 Clustering Services : คือ การทำให้ Server หลายๆ เครื่อง ทำงานร่วมกัน เมื่อ Server เครื่องหนึ่งไม่สามารถให้บริการได้ มี 2 ลักษณะ
1. Failover : หากมีเครื่องหนึ่งเสีย เครื่องอื่นจะทำงานแทน
2. Loadbalancing : หากเครื่องใดทำงานโหลดเกินกำหนด จะแบ่งงานไป Process เครื่องอื่น
บริการดังกล่าวเป็นบริการเพื่อให้เซิร์ฟเวอร์มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ซึ่งก่อให้เกิดความเชื่อถือได้สูง (High Availability)
บริการอื่นๆ
นอกจากบริการหลักๆ ที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ยังมีบริการอื่นๆ อีกที่ช่วยให้ NOS มีความหลากหลายยิ่งขึ้น เช่น
8 การให้บริการฐานข้อมูล
8 ความสามารถในการขยาย (Scalability)
8 ความสามารถในการรองรับเครือข่ายที่ที่มีขนาดใหญ่
Novell Netware

บริษัทโนเวล เป็นบริษัทแรกที่พัฒนา NOS ในช่วงทศวรรษ 1980โนเวลได้พัฒนาเน็ตแวร์ เพื่อใช้
8 สำหรับการแบ่งปันไฟล์ (Share File) และเครื่องพิมพ์ (Share Printer)
8 รองรับการทำงานบนแพลตฟอร์มหลายประเภท เช่น MS-DOS, Windows, MacOS เป็นต้น
ต่อมาในปี ค.ศ.1994 โนเวลได้เพิ่ม NDS (Novell Directory Services) ให้กับเน็ตแวร์ และประสบความสำเร็จมาก
เวอร์ชันล่าสุด คือ เวอร์ชัน 5.0 อนุญาตให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงไฟล์ ใช้เครื่องพิมพ์ ไดเร็คทอรี่ อีเมล์ ฐานข้อมูล ระบบจัดเก็บข้อมูล และไคลเอนต์หลายแพลตฟอร์ม

บริการจัดเก็บไฟล์และการพิมพ์ (File and Print Services)
เป็นการบริการผ่านอินเทอร์เน็ต เพื่อให้สามารถติดต่อไฟล์ ระหว่างการเดินทาง หรือจากที่บ้านได้
- iFolder
คุณสมบัติที่สำคัญ
8 ผู้ใช้สามารถเข้าถึงไฟล์ได้โดยใช้เว็บบราวเซอร์ทั่วๆ ไป
8 รองรับการทำงานหลายแพลตฟอร์ม เช่น วินโดวส์ ลีนุกซ์ เป็นต้น
8 ความสามารถในการซิงโครไนซ์ไฟล์ฐานข้อมูล (.mdb) และไฟล์เอาต์ลุ๊ค (.pst) ได้โดยไม่ต้องทรานสเฟอร์ทั้งฐานข้อมูล แต่เฉพาะเร็คคอร์ดที่มีการเปลี่ยนแปลงเท่านั้น
8 ผู้ใช้เข้าถึงไฟล์ได้ 2 วิธี คือ Web browser หรือ iFolder Client

บริการมัลติโพรเซสซิ่งและคลัสเตอริ่ง (Multiprocessing and Clustering)

วินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ 2003 Standard Edition สำหรับองค์กรขนาดเล็ก
8 รองรับโพรเซสเซอร์ 64 บิตหรือไอทาเนียม (Itanium) ของ Intel และ 4 GB RAM
8 รองรับ SMP (Symmetric Multiprocessing) ได้ถึง 4 CPU
ส่วน Enterprise Edition สำหรับองค์กรขนาดใหญ่
8 รองรับได้ถึง 8 CPU และ 32 GB RAM
8 ยังรองรับการทำคลัสเตอริ่งได้ 2 โหนด
ดาต้าเซนเตอร์สำหรับเซิร์ฟเวอร์ที่ต้องการประสิทธิภาพสูง
8 รองรับ SMP ได้ถึง 32 และ 64 CPU และ 64 GB RAM
8 การทำคลัสเตอริ่งได้ 4 โหนด (128 CPU)

สรุปวินโดวส์เซิร์ฟเวอร์
หัวใจสำคัญของวินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ 2003 คือ ADS ซึ่งเป็นไดเร็คทอรีเซอร์วิสที่จะทำหน้าที่บริหารและจัดการทรัพยากรต่างๆ ที่มีอยู่ในระบบ พร้อมทั้งมีระบบรักษาความปลอดภัยที่ดี
จุดเด่นของวินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ 2003 คือ ความได้เปรียบทางด้านการตลาด คนส่วนใหญ่จะนิยมใช้ซอฟต์แวร์ของไมโครซอฟต์ ถึงแม้ประสิทธิภาพอาจไม่ดีเท่ากับของบริษัทอื่นก็ตาม ไมโครซอฟต์จะเน้นที่การใช้งานง่าย ทำให้เป็นที่นิยมของผู้ใช้ส่วนใหญ่ และมีแอพพลิเคชันที่สามารถใช้งานร่วมกับวินโดวส์ให้เลือกใช้จำนวนมาก

Red Hat Linux

ลีนุกซ์เป็น OS ประเภท UNIX โดย ไลนัส โทรวาสด์ส (Linus Torvolds) จุดประสงค์ของ Linux เพื่อเป็น UNIX OS for PC Linux เป็น OS แบบโอเพ่นซอร์ส (Open Source) หรือไม่ต้องเสียค่าลิขสิทธิ์ ผู้ใช้ทั่วไปสามารถดาวน์โหลดมาใช้งานได้เลย

ข้อเสียของลีนุกซ์และระบบปฏิบัติการประเภทยูนิกซ์
8 ยากต่อการใช้งาน ที่ยังคงเป็นแบบ Command Line Interface
8 แม้ปัจจุบันได้มีการพัฒนา GUI แต่โปรแกรมใช้งานก็ยังมีน้อย

บริการจัดเก็บไฟล์และการพิมพ์ (File and Printer Services)
ลีนุกซ์ใช้ระบบไฟล์คล้ายกับยูนิกซ์ เรียกว่า “Ext” (Extended Filesystem) รองรับไฟล์ได้ 4 TB และแต่ละไฟล์ขนาดไม่เกิน 2 GB ส่วนชื่อไฟล์ต้องไม่เกิน 255 ตัวอักษร การรักษาความปลอดภัยของระบบไฟล์เหมือนกับยูนิกซ์ คือ ผู้ดูแลระบบสามารถกำหนดให้ผู้ใช้มีสิทธิ์เข้าถึงไฟล์และไดเร็คทอรีใดได้บ้าง สามารถแชร์ไฟล์กับระบบวินโดวส์ได้โดยการใช้โปรโตคอล Samba
ระบบไฟล์ JFS (Journaling File System) รองรับระบบไฟล์ได้ถึง 512 TB พีเจอร์หลักคือประสิทธิภาพในการกู้คืนไฟล์เมื่อระบบล้มเหลว เหมาะสำหรับเซิร์ฟเวอร์ที่ให้บริการอินเทอร์เน็ต ถ้าเกิดล้มเหลว จะใช้เวลาไม่นานในการกู้คืนไฟล์ และสามารถรองรับเครื่องพิมพ์ได้มากกว่า 500 เครื่อง

บริการดูแลและจัดการ (Management Services)
Webmin : สำหรับการจัดการเซิร์ฟเวอร์ผ่านเว็บ ผู้ดูแลระบบสามารถจัดการเซิร์ฟเวอร์ได้เกือบทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการจัดการยูสเซอร์, ไฟล์, พรินเตอร์, เน็ตเวิร์ค, เว็บ, เมล์ และ DNS เป็นต้น


บริการอินเทอร์เน็ตและอินทราเน็ต (Internet/Intranet Services)

อะปาเช่ (Apache) เป็นเว็บเซิร์ฟเวอร์ที่นิยมมากที่สุดบนอินเทอร์เน็ต และสามารถรันบนลีนุกซ์ได้เช่นกัน เครื่องคอมพิวเตอร์ที่นำมาใช้ไม่ต้องการเครื่องที่มีประสิทธิภาพสูง ระดับ Pentium 2 ก็สามารถใช้ได้ ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายได้มาก
รองรับบริการอินเทอร์เน็ตอื่นๆ เช่น FTP, Telnet, DNS, DHCP, SMTP, POP3, IMAP, NNTP, NTP เป็นต้น ซึ่งถ้าใช้ระบบปฏิบัติการอื่นอาจต้องเสียเงินเพื่อซื้อซอฟท์แวร์ ในขณะที่ลีนุกซ์สามารถดาวน์โหลดได้จากอินเทอร์เน็ต จุดด้อยของลีนุกซ์ที่ผู้ใช้อาจไม่ชอบ คือ การกำหนดค่าต่างๆ ยังคงเป็นแบบ CLI (Common Line Interface)

วันศุกร์ที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

ระบบปฏิบัติการเครือข่าย NOS

NOS คืออะไร

ระบบปฏิบัติการ หรือ OS (Operating System) ทำหน้าที่จัดการเกี่ยวกับการเข้าใช้ทรัพยากรต่าง ๆ
ของโปรแกรมที่รันบนคอมพิวเตอร์เครื่องนั้น ทรัพยากรของคอมพิวเตอร์มีหลายชนิด เช่น หน่วยความจำ, ฮาร์ดดิสก์, จอภาพ, คีย์บอร์ด, และเมาส์ เป็น ถ้าไม่มีระบบปฏิบัติการ คอมพิวเตอร์คงจะรับโปรแกรมมากกว่าหนึ่งโปรแกรมไม่ได้ เพราะแต่ละโปรแกรมอาจแย่งใช้ทรัพยากรดังกล่าวจนอาจทำให้ระบบล่มได้ระบบเครือข่าย ก็เหมือนกับระบบคอมพิวเตอร์จำเป็นต้องมีระบบปฏิบัติการเครือข่าย หรือ NOS (network Operting System) เพื่อทำหน้าที่จัดการเกี่ยวกับสื่อสารข้อมูลผ่านเครือข่าย และการเข้าใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในเครือข่าย เช่น เครื่องพิมพ์ ฮาร์ดดิสก์ เป็นต้น คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับเครือข่าย จำเป็นต้องมีระบบปฏิบัติการทั้งสองประเภท เพื่อจะทำหน้าที่ทั้งจัดการทรัพยากรภายในคอมพิวเตอร์และในระบบเครือข่าย แต่โดยส่วนใหญ่ระบบปฏิบัติการทั้งสองประเภทจะอยู่ในตัวเดียวกัน เมื่อติดตั้งระบบปฏิบัติการเสริมแล้วก็เพียงติดตั้งส่วนที่เป็นเครือข่ายเท่านั้น


ความหมาย NOS

คือ ระบบปฏิบัติการเครือข่าย ทำหน้าที่จัดการเกี่ยวกับการสื่อสารข้อมูลเครือข่าย

- การตรวจสอบสิทธิการใช้เครือข่าย
- การเข้าใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อยู่ในเครือข่าย : ติดต่อคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นในเครือข่าย
การตรวจสอบสิทธิ์การใช้เครือข่าย การใช้เครื่องพิมพ์ในเครือข่าย การใช้ฐานข้อมูลในเครือข่าย

OS ปัจจุบัน (Windows 95/98/Me/Xp) จะมีส่วนที่ทำหน้าที่จัดการ NOS รวมอยู่ด้วย


บริการของ NOS

การเลือใช้ NOS มีผลต่อการใช้งานเครือข่ายของบุคลากรในองค์ก
เช่น ความยากง่ายในการใช้งาน ความยากง่ายในการดูแล
และจัดการโปรแกรมต่างๆ รวมถึงระบบการรักษรความปลอดภัย
เป็นต้น สิ่งที่ควรพิจารณาเปรียบเทียบก่อนการตัดสินใจ
คือ บริการต่างๆ ของระบบ NOS ที่มีในแต่ละระบบปฏิบัติการ

- บริการจัดเก็บไฟล์ และการพิมพ์ (File and Print Services)
- บริการดูแลและจัดการระบบ (Management Services)
- บริการรักษาความปลอดภัย (Security Services)
- บริการอินเทอร์เน็ตและอินทราเน็ต (Internet/Intranet Services)
- บริการมัลติโพรเซสซิ่ง และคลัสเตอร์ริ่ง (Multiprocessing and Clustering Services)


บริการจัดเก็บไฟล์ และการพิมพ์ (File and Print Services)

> เป็นฟังก์ชันที่สำคัญของ NOS

> NOS จะต้องสามารถในด้าน

- การจัดการเครื่องพิมพ์ :
- การจัดการเกี่ยวกับพื้นที่เก็บไฟล์ที่แบ่งปันระหว่างผู้ใช้ :
- ระบบควบคุมการเข้าใช้ทรัพยากร :


บริการดูแลและจัดการระบบ (Management Services)
การดูแล และจัดการเครือข่าย
- การจัดการเกี่ยวกับผู้ใช้ (User Accounts)
- ควบคุมคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเข้ากับเครือข่าย
- ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์เครือข่าย
- การรายงานเกี่ยวกับข้อผิดพลาดต่างๆ ที่เกิดขึ้นในเครือข่าย
- การเฝ้าดูระบบเครือข่ายเพื่อทรบถึงปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นและสามารถแก้ไขได้ทันเวลาหรือก่อนที่จะกาลายเป็นปัญหาใหญ่
เครื่องมือนี้จะช่วยในการจัดการเครือข่ายง่ายขึ้น
- Netware จะใช้ ระบบไดเร็คทอรี่ที่เรียกว่า NDS eDirectory (Novell Directory Services eDirectory)
- Windows2003 จะใช้ระบบไดเร็คทอรี่ที่เรียกว่า ADS (Active Directory Services)
บริการรักษาความปลอดภัย (Security Services)
การรักษาความปลอดภัยข้อมูลใจเครือข่ายเป็นเรื่องสำคัญ
NOS ควรมีฟังก์ชันที่สามารถกำหนดระดับผู้ใช้ โดยสามารถกำหนดสิทธิ์ให้กับผู้ใช้หรือกลุ่มของผู้ใช้ได้
- ความสามารถเข้าถึงข้อมูลในทุกระดับชั้น
- สามารถอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ใครเข้าใช้ระบบได้
- สามารถเขียนหรือลบข้อมูลระบบฐานข้อมูลของระบบ
บริการอินเทอรืเน็ตและอินราเน็ต (Internet/Intranet Services)
ปัจจุบันองค์กรต่างๆมักจะให้บริการอินเทอร์เน็ตโดยกำหนดเครือขายภายใน ให้เป็นอินทราเน็ตเพื่อความปลอดภัยของเครือข่าย จึงต้องติดตั้งบริการต่างๆขึ้น เช่น
- เว็บเซิร์ฟเวอร์ (Wev Server) : ให้บริการสืบค้นข้อมูบผ่าน Web
- เมล์เซิร์ฟเวอร์ (Mail Server) : สถานีบริการ e-mail กับสถานีอื่นๆ
- เอฟทีพีเซิร์ฟเวอร์ (FTP Server) : บริการถ่ายโอนแฟ้มข้อมูล เพื่อลด Traffic ใน Ontranet
- ดีเอ็นเอสเซิร์ฟเวอร์ (DNS Server) : บริการเปลี่ยหมายเลข IP เป็น URL
- พร็อกซี่ เซิร์ฟเวอร์ (Proxy server) : เครื่องที่บริการเก็บข้อมูล เพื่อให้บริการสำหรับผู้อื่นที่ขช้อมูลนั้นๆ อีก (เพื่อลดปริมาณ Bandwidth)
- เน็ต NAT (Network Address Translation) : เครื่องที่บริการแจก Real IP สำหรับเครื่อง Local ที่ร้องขอข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต เมื่อข้อมูลกลับมา NAT จะนำข้อมูลส่งกลับให้เครื่อง Local
บริการมัลติโพรเซสซิ่ง และคลัสเตอร์ริ่ง (Multiprocessing and Clustering Services)
- Multiprocessing : NOS ที่ดีต้องรองรับการทำงานของเครื่องที่มี CPU มากกว่า 1
- Clustering Services : คือ การทำให้ Server หลายๆเครื่อง ทำงานร่วมกัน เมื่อ Server เครื่องหนึ่งไม่สามารถให้บริการได้ มี 2 ลักษณะ
- Failover : หากมีเครื่องหนึ่งเสีย เครื่องอื่นจะทำงานแทน
- Loadvalancing : หากเครื่องใดทำงานโหลดเกินกำหนด จะแบ่งงานไป Process เครื่องอื่น
บริการดังกล่างเป็นบริการเพื่อนให้เซิร์ฟเวอร์มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ซึ่งก่อให้เกิดความเชื่อถือได้สูง (High Availability)